ภาษีป้าย หลายๆคนคงยังไม่ทราบว่าภาษีป้ายนั้นคือ อะไรกัน และต้องทำอย่างไรบ้าง? เราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาษีป้ายให้ลูกค้าทุกท่านได้ทราบก่อนตัดสินใจทำป้ายกันครับ
ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายทีใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่ วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือท าให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้ายในกรณีไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่ เสียภาษีป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
อัตราภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
3. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพและหรือเครื่องหมายใด ๆ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำากว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท ป้ายเมื่อค านวณพื้นที่จ านวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจ าตัวประชาชน
- สำเนาหนังสือรับรองส านักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
- รายละเอียดเกี่ยวกับป้าย ทั้งลักษณะข้อความ ภาพขนาดรูปร่าง และรูปตัวของป้าย (ถ้ามี)
- สถานที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
– ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี
การชำระภาษี
ให้เจ้าของป้ายช าระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้ง จนถึงงวดสุดท้ายของปี (คิดภาษีป้าย เป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน)
งวด 1 มกราคม – มีนาคม = 100 %
งวด 2 เมษายน – มิถุนายน = 75 %
งวด 3 กรกฎาคม – กันยายน = 50 %
งวด 4 ตุลาคม – ธันวาคม = 25 %
เงินเพิ่ม
– ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในก าหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษี – ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ท าให้จ านวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม – ไม่ช าระภาษีป้ายภายในเวลาที่ก าหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย
บทกำหนดโทษ
- ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
- ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งความเท็จ ให้ถ้อยค าเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจ าคุกไม่ เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจ า ทั้งปรับ
- ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย
1.ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย ป้ายเดิม (กรณีปกติ)
1.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
– ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
– สำเนาบัตรประจ าตัวประชาชน
– ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
– แผนที่ตั้งพอสังเขป
– หนังสือมอบอ านาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
1.2 ขั้นตอนการให้บริการ
– ยื่นแบบประเมินภาษี
– ตรวจสอบเอกสารเพื่อประเมินภาษี
– ออกใบเสร็จรับเงิน
2. ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย ป้ายเดิม (กรณีเอกสารไม่ชัดเจนครบถ้วน)
2.1 เอกสารที่ต้องใช้การติดต่อ
2.2 ขั้นตอนการให้บริการ
– ยื่นแบบประเมินภาษี
– ตรวจสอบ
– ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ออกส ารวจตรวจสอบป้าย
– คำนวณค่าภาษี แจ้งให้ผู้ยื่นเสียภาษีทราบ
– ออกใบเสร็จรับเงิน 2.3 ระยะเวลาด าเนินการ
– โดยประมาณ 1 วันท าการ ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย
3.ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย ป้ายใหม่
3.1 เอกสารที่ต้องใช้การติดต่อ
– สำเนาบัตรประจ าตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
– แผนที่ตั้งพอสังเขป
– หนังสือมอบอ านาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
3.2 ขั้นตอนการให้บริการ
– ยื่นแบบประเมินภาษี
– ตรวจสอบ
– ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ออกส ารวจตรวจสอบป้าย
– คำนวณค่าภาษี แจ้งให้ผู้ยื่นเสียภาษีทราบ
– ออกใบเสร็จรับเงิน